Skip to content Skip to footer

TOUCH City Data Platform

TOUCH Platform

แพลตฟอร์มข้อมูลเมือง ระบบรวบรวมข้อมูลดิจิทัล รองรับการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน

แพลตฟอร์มข้อมูลเมือง ระบบรวบรวมข้อมูลดิจิทัล รองรับการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน

พัฒนาเมืองของท่าน ให้เป็น เมืองอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนา เมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข  อย่างยั่งยืน

City Data Platform โดยข้อมูลสามารถส่งต่อ และประยุกต์ใช้ประโยชน์จาก Data เพื่อนำไปพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อนำไปปรับใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจและนำไปสู่การวิเคราะห์คุณภาพการพัฒนาและให้บริการของเมืองที่ดีขึ้น ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของเมืองอัจฉริยะที่มองความต้องการและปัญหาของประชาชนเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนเมืองที่ยั่งยืนต่อไป

โดยระบบ City Data Platform นำมาประยุกต์ใช้ได้ Smart City 7 ด้าน


1) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) เมืองที่นำประโยชน์จากเทคโนโลยี มาปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสิ่งแวดล้อม พร้อมติดตามเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมและสภาวะแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดการน้ำ การดูแลสภาพอากาศ การเฝ้าระวังภัยพิบัติ ตลอดจนเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ


2) การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) การมุ่งเน้นเพิ่มความสะดวก ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการคมนาคมขนส่ง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน


3) การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) การใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมให้เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการดำรงชีวิตที่เหมาะสม ด้วยการใช้เทคโนโลยีในที่อยู่อาศัย การทำงาน การเดินทาง และกิจกรรมต่างๆ ของชีวิตประจำวัน


4) พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) การส่งเสริมให้ผู้คนมีความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้นอกระบบ รวมถึงการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันด้วยความหลากหลายทางสังคม ด้วยการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ และพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น เช่น ทักษะและความรู้ด้านเทคโนโลยี เข้าใจหลักการทำงานของเทคโนโลยีต่าง ๆ และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


5) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์เพื่อการบริหารจัดการด้านพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความสมดุลระหว่างการผลิตและการใช้พลังงานในพื้นที่ สร้างความมั่นคงทางพลังงานและลดการพึ่งพาพลังงานจากระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลัก เช่น ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ ที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงทางพลังงานและลดการพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล


6) เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) เศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ สร้างให้เกิดความร่วมมือทางธุรกิจ และประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจ โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งภาคธุรกิจ ภาคประชาชน และสังคมโดยรวม


7) การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) เมืองที่มุ่งเน้นพัฒนาระบบบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐสะดวก รวดเร็ว เพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการเปิดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้

ระบบรวบรวมข้อมูล ที่ปลอดภัย พร้อมความสามารถในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดกับเมือง